ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

การเกณฑ์ทหาร หน้าที่ของลูกผู้ชายไทย

โพสต์ใน: สังคม / การศึกษา / - โดย - Apr 09, 2017
สาระน่ารู้เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร หน้าที่ของลูกผู้ชายไทย

สำหรับคนไทยและนักเรียนไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ

ชายที่มีสัญชาติไทยทุกคนมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองท ุกคน (ตามมาตรา 7 ของ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497) เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุครบ 21 ปี ต้องเข้ารับการเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อเป็นทหารตามภูมิลำ เนาที่ตนสังกัด อยู่ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนไทยและนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศอาจขอผ่อน ผันการตรวจเลือก ทหารได้

1. การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
ชายไทยทุกคนที่อายุย่างเข้า 18 ปีต้องยื่นใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินโดยการแสดงหลัก ฐานสูติบัตรหรือ บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านต่อนายอำเภอท้องที่ ด้วยตนเอง หรือในกรณีที่ไม่สามารถไปยื่นด้วยตนเอง สามารถให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะไปแจ้งแทน ถ้าไม่ไปหรือไม่มีผู้ไปแจ้งแทนถือว่า ผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกิน

2. การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร

  • สำหรับนักเรียนในความดูแลของสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนของคณ ะกรรมการข้าราชการ พลเรือน ( ก.พ. ) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจะเป็นผู้ดำเนินการขอผ ่อนผันการตรวจ เลือกทหารให้แก่นักเรียนที่ประสงค์ โดยบิดามารดาหรือผู้ปกครองของนักเรียนหรือนักเรียน จะต้องติดต่อยื่นคำร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเ รือนเพื่อที่สำนัก งานฯ จะประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยต่อไป
  • สำหรับนักเรียนที่ออกไปศึกษา ณ ต่างประเทศโดยทุนส่วนตัวและไม่ได้อยู่ในความดูแลของสำนักง านผู้ดูแลนักเรียน ฯ กำหนดให้นักเรียนผู้ประสงค์จะขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร หรือบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอที่มีภูมิลำเ นาอยู่ เพื่อที่ดำเนินการสอบสวน โดยจะต้องแสดงเอกสารหลักฐานต่างๆ ดังนี้
    • ผู้ขอรับการผ่อนผันไปศึกษาวิชาอะไร ณ สำนักศึกษาใด
    • วิชาที่ไปศึกษามีหลักสูตรกี่ปี (แสดงเอกสารหลักฐานของสถานที่ศึกษาประกอบ หากเป็นภาษาท้องถิ่น ผู้ขอจะต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองเอกสาร

แบบคำถาม - คำตอบ
เกี่ยวกับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการ

ถาม กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กำหนดหน้าที่ การรับราชการทหารไว้อย่างไร
  ตอบ มาตรา ๖๙ บัญญัติว่า "บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร ฯลฯ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้"
     
ถาม พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ กำหนดหน้าที่ชายไทยไว้อย่างไร
  ตอบ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการ ทหารด้วยต้นเองทุกคน"
     
ถาม วิธีนับอายุ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร นับอย่างไร
  ตอบ ถ้าเกิด พ.ศ.ใดให้ถือว่ามีอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์เมื่อสิ้น พ.ศ.ที่เกิดนั้น ส่วนการ นับอายุต่อไปให้นับเฉพาะปีที่สิ้น พ.ศ.แล้ว เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๒ จะเป็นวันเดือนใดก็ตาม ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ เมื่อสิ้น พ.ศ.๒๕๒๒ และนับ อายุครบ ๒,๓,๔ ฯลฯ ปีบริบูรณ์ เรียงตามลำดับเมื่อสิ้น พ.ศ. นั้น ๆ
     
ถาม อายุเท่าไรจึงจะต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน
  ตอบ อายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์
     
ถาม ทหารกองเกินหมายความว่าอย่างไร
  ตอบ ทหารกองเกินหมายถึง ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว
     
ถาม การลงบัญชีทหารกองเกิน (คนทั่วไปมักจะใช้ว่าไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) จะต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอใด
  ตอบ ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาถ้าบิดาตายมีมารดาลงบัญ ชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา ถ้าทั้งบิดามารดาตายมีผู้ปกครอง ลงบัญชีที่ อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา
     
ถาม ถ้าบิดามารมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอใด
  ตอบ ผู้ที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ลงบัญชีที่มารดามีภูมิลำเนา ถ้ามารดาตายลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา
     
ถาม ถ้าไม่สามารถลงบัญชีทหารตามที่กล่าวมาแล้วได้ จะต้องลงบัญชีที่อำเภอใด
  ตอบ หากไม่เขากรณีดังกล่าวเลย หรือไม่สามารถลงบัญชีตามกรณีดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยกรณีใด ก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ถ้าไม่ปรากฏภูมิลำเนา (ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน) ก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่ที่พบตัวผู้นั้น
     
ถาม เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินตามกำหนดแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่เมื่อใด
  ตอบ ถือว่า "เป็นทหารกองเกินตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ของ พ.ศ. ถัดไป"
     
๑๐ ถาม ภูมิลำเนาทหารหมายความว่าอย่างไร
  ตอบ เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าผู้นั้นมี "ภูมิลำเนาทหาร" อยู่ในอำเภอท้องที่ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินนั้น
     
๑๑ ถาม หากประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาหรือย้ายที่อยู่เป็นการชั่วคราว จะต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ให้แจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่
     
๑๒ ถาม ถ้าไม่แจ้งย้ายภายในกำหนดมีความผิดหรือไม่
  ตอบ ถ้าไม่แจ้งย้ายภายในกำหนด มีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     
๑๓ ถาม หากลงบัญชีทหารกองเกินเกินกำหนด จะให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนภายหลังได้หรือไม่
  ตอบ ผู้ที่ไม่ได้มาลงบัญชีทหารกองเกินภายในกำหนด ถ้าอายุไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ ก็ให้ไปแสดงตนขอลงบัญชีที่อำเภอเช่นเดียวกัน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ สามารถปฏิบัติได้ แต่จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนมิได้
     
๑๔ ถาม วิธีการลงบัญชีทหารกองเกิน จะต้องทำอย่างไร
  ตอบ ให้ผู้ขอลงบัญชียื่นใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.๔๔) ขอได้ที่หน่วยสัสดีอำเภอ พร้อมด้วยสูติบัตร (ถ้ามี) บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อบิดา หรือมารดาถ้าบิดาตาย หรือผู้ปกครองถ้าบิดามารดาตาย ด้วย) ต่อนายอำเภอท้องที่ (สัสดีอำเภอเป็นเจ้าหน้าที่)
     
๑๕ ถาม เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน
  ตอบ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐานเอกสารเห็นว่าถูกต้ องแล้ว จะรับลงบัญชีทหารกองเกินไว้ และออกใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือใบรับ (แบบ สด.๑๐)ให้เป็นหลักฐาน
     
๑๖ ถาม ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หากชำรุดหรือสูญหาย จะขอรับใหม่ได้หรือไม่
  ตอบ รับใหม่ได้ โดยให้ผู้ถือแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่เพื่อขอรับใบสำคัญฯ ใหม่ โดยเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ ๑ บาท แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
     
๑๗ ถาม สามเณรเปรียญ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอหรือไม่
  ตอบ การลงบัญชีทหารกองเกินของสามเณรเปรียญ นายอำเภอท้องที่ (สัสดีอำเภอ) จะไปจัดทำที่วัดหรือสำนักสงฆ์โดยให้กรอกข้อความในใบแสดงตน ฯ เมื่อตรวจสอบหลักฐานถูกต้องจึงรับลงบัญชีและออกใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้
     
๑๘ ถาม การลงบัญชีของผู้ทีอยู่ในระหว่างการควบคุมหรือคุมขังของเจ ้าหน้าที่ จะปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมหรือคุมขังส่งบัญชีรายชื่อให้นายอ ำเภอ เพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน แล้วออกใบสำคัญให้
     
๑๙ ถาม พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่
  ตอบ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศานสาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่สมณศักดิ์ ยกเว้นไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
     
๒๐ ถาม ชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่
  ตอบ ต้องลงบัญชีทหารกองเกินยกเว้นเฉพาะบางท้องที่ซึ่งไม่มีคุณ วุฒิที่จะเป็นทหารได้
ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ.๒๕๑๘) ลง ๑๘ ก.ย.๑๘)
ไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
๒๑ ถาม ทหารกองเกินต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหารเมื่อใด
  ตอบ ทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใด ต้องไปขอรับหมายเรียกที่อำเภอภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ.นั้น (ภายใน ๓๑ ธ.ค.)
     
๒๒ ถาม ถ้าไปรับหมายเรียกด้วยตนเองไม่ได้ จะให้บุคคลอื่นไปรับหมายเรียกแทนได้หรือไม่
  ตอบ ถ้าไปรับด้วยตนเองไม่ได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและ เชื่อถือได้ไปรับแทน โดยการมอบฉันทะ แต่การจะให้รับหมายหรือไม่อยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอ
     
๒๓ ถาม ถ้าไม่ไปรับหมายเรียกฯ ภายในกำหนด จะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร
  ตอบ ถ้าไม่ไปรับหมายเรียกฯ ภายในกำหนด หรือไม่มีผู้แทนไปรับถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืนมีโทษเท่ากับไ ม่ไปลงบัญชีทหารกองเกินข้างต้น (โทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
     
๒๔ ถาม ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ต้องไปรับหมายเรียกหรือไม่
  ตอบ บุคคลดังกล่าวไม่ต้องไปรับหมายเรียกแต่อย่างใด
     
๒๕ ถาม มีใครอีกบ้างที่ไม่ต้องรับหมายเรียกฯ
  ตอบ ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่เรียกเข้ากองประจำการในยามปกติ เช่น นักศึกษาวิชาทหารฯ
     
๒๖ ถาม ผู้ที่พ้นจากฐานยกเว้นผ่อนผันฯ ต้องไปรับหมายเรียกหรือไม่
  ตอบ ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ. ที่พ้นจากฐานะยกเว้นด้วย
     
๒๗ ถาม เมื่อพ้นจากฐานะยกเว้นแล้ว ไม่ได้รับหมายเรียกจะมีความผิดหรือไม่
  ตอบ มีความผิดเช่นเดียวกับผู้ไม่ไปรับหมายเรียกที่อำเภอตามที่ กล่าวมาแล้ว
     
๒๘ ถาม การขอยกเว้นครู ซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการที่อยู่ในความควบคุมข องกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
  ตอบ มีเงื่อนไขดังนี้
ก. เป็นครูประจำทำการสอนนักเรียน นักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติ
ข. เป็นครูประจำเฉพาะวิชานักเรียน นักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติ
ค. มีเวลาสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๑๘ ชม. ในสถานศึกษาระดับมัธยมลงมา หรือไม่น้อยกว่า ๑๕ ชม. ในสถานศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา
     
๒๙ ถาม การขอยกเว้นครู จะต้องทำอย่างไร
  ตอบ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อครูซึ่งได้รับการยกเ ว้น ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งครูผู้นั้นทำการสอนอยู่ในท้องที่ก่อนเดือนเมษายนของปี ที่ถูกเรียก ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน เมื่อตรวจสอบเป็นการถูกต้องผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกใบสำค ัญยกเว้นครู (แบบ สด.๓๗) ให้
     
๓๐ ถาม เมื่อพ้นจากฐานะยกเว้นครู จะต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ต้องต่อนายอำเภอท้องที่ที่ทำการสอน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่พ้นจากฐานะการเป็นครู ถ้าไม่ปฏิบัติมีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     
๓๑ ถาม การขอผ่อนผันฯ บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาฯ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาแจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาของตนแล้วเป ็น หน้าที่ของสถาบันการศึกษา หรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อผู้นั้นต่อผู้ว่าราชกา รจังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะตรวจเลือกเข้ากองประจำการ
     
๓๒ ถาม อายุเท่าไร ถึงจะต้องไปตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร)
  ตอบ อายุ ๒๑ ปี โดยจะต้องไปตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ตามหมายเรียก (หมายเกณฑ์) ที่ได้รับจากอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร
     
๓๓ ถาม ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจเลือกฯ ต้องนำหลักฐานอะไรไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกฯ
  ตอบ ให้ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจเลือกฯ นำใบสำคัญ (แบบ สด.๙), หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) , บัตรประจำตัวประชาชน, ประกาศนียบัตร,หรือหลักฐานการศึกษาฯ ไปแสดงในวันตรวจเลือกด้วย
     
๓๔ ถาม ในวันตรวจเลือกทหารผู้เข้ารับการตรวจเลือกฯ (เกณฑ์ทหาร) จะได้รับหลักฐานอะไร
  ตอบ ได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๓) (บุคคลทั่วไปรู้จักกันในนามใบผ่านการเกณฑ์) จากประธานกรรมการตรวจเลือก
     
๓๕ ถาม ผู้ที่จะเป็นทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ต้องมีขนาดรูปร่างอย่างไร
  ตอบ ต้องมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ ๗๖ เซ็นติเมตรขึ้นไป ในเวลาหายใจออก และสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๔๖ เซ็นติเมตรขึ้นไป แต่ปกติจะคัดเลือกคนที่มีขนาดสูง ๑ เมตร ๖๐ เซ็นติเมตรขึ้นไปก่อน
     
๓๖ ถาม เมื่อจับได้สลากแดง หรือสมัครเป็นทหารกองประจำการเมื่อปลดจากการเป็นทหาร จะได้รับเอกสารหรือหลักฐานอะไร
  ตอบ เมื่อปลดจากทหารกองประจำการ(ทหารเกณฑ์) จะได้รับหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ไว้เป็นหลักฐาน
     
๓๗ ถาม ทหารกองเกินเมื่อรับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเข้ารับการตรวจเ ลือกที่ไหนและเมื่อไร
  ตอบ ทหารกองเกินที่ถูกเรียกจะต้องไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ทำการตรวจเลือกตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ระบุไว้ในหมายเรียก
     
๓๘ ถาม กรณีเป็นผู้ที่มีความผิดไม่มารับหมายตามมาตรา ๒๕ อยู่ในระหว่างดำเนินคดี จะไปแสดงตนขอรับหมายเรียกฯ ได้หรือไม่
  ตอบ ไปขอรับหมายเรียกฯ เพื่อขอเข้ารับการตรวจเลือกฯ ได้
     
๓๙ ถาม ผู้ที่ป่วยไม่สามารถจะมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ ได้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ นำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก เพื่อสอบปากคำผู้แทนไว้ แล้วมอบให้อำเภอดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงตามทางการภายหล ัง
     
๔๐ ถาม คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ประกอบด้วยใครบ้าง
  ตอบ ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร ยศไม่ต่ำกว่าพันโท เป็นประธานกรรมการ, นายทหารสัญญาบัตรยศไม่เกินประธานกรรมการ ๒ คน, สัสดีจังหวัดต่างท้องที่ ๑ คน และแพทย์อีก ๑-๒ คนเป็นกรรมการ
๔๑ ถาม คณะกรรมการตรวจเลือกฯ มีเครื่องหมายเป็นข้อสังเกตอย่างไร
  ตอบ คณะกรรมการตรวจเลือกฯ นี้ สวมปลอกแขนสีแดงขลิบริมสีน้ำเงิน ส่วนเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือกรรมการสวมปลอกแขนสีน้ำเงินขลิบร ิมสีแดง นอกจากนี้ ไม่ใช่บุคคล ในคณะกรรมการตรวจเลือกฯ
     
๔๒ ถาม เมื่อคณะกรรมการชั้นสูงตัดสินแล้ว จะต้องขอคัดค้านคำตัดสินได้หรือไม่
  ตอบ ไม่ได้เพราะคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูงให้เป็นที่สุด
     
๔๓ ถาม ผู้ที่ถูกกำหนดให้เข้ารับราชการกองประจำการ จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน
  ตอบ นายอำเภอท้องที่ที่ตรวจเลือกฯ จะออกหมายนัดมาให้รับราชการทหารตามวันที่กำหนด
     
๔๔ ถาม ถ้าไม่ได้ไปรับราชการตามกำหนดหมายนัด (ขาดหมายนัด) จะมีความผิดหรือไม่อย่างไร
  ตอบ ถ้าไม่มาตามหมายนัด ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี
     
๔๕ ถาม ถ้าผู้ใดทำร้ายร่างกายตนเองหรือให้ผู้อื่นทำเพื่อจะให้พ้น จากการรับราชการทหาร จะมีความผิดหรือไม่
  ตอบ มีความผิด มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป จนถึง ๘ ปี ผู้สมรู้เป็นใจในการทำร้ายร่างกาย เพื่อมุ่งหมายดังกล่าว มีความผิด โทษจำคุกตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไปจนถึง ๔ ปี
     
๔๖ ถาม ผู้ที่จะอ้างสิทธิลดวันรับราชการได้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ต้องแสดงหลักฐานต่อกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกฯ เท่านั้น ถ้าแสดงหลักฐานหลังจากนี้จะไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายและต้อ งเขียนคำร้องไว้ด้วย
     
๔๗ ถาม ถ้ารับหมายเรียกแล้ว ไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือกฯ จะมีโทษอย่างไรหรือไม่
  ตอบ บุคคลใดหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯทำกา รตรวจเลือกฯ ตามหมายเรียกของนายอำเภอ หรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก หรือไม่อยู่ จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ (ก่อนที่กรรรมการจะปล่อยตัว) ถือว่าผู้นั้น หลีกเลี่ยงขัดขืน มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี
     
๔๘ ถาม ทหารกองประจำการหมายความว่าอย่างไร
  ตอบ ทหารกองประจำการหมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด
     
๔๙ ถาม ผู้ที่อยู่ในกำหนดผ่อนผันฯ จะขอสละสิทธ์เข้าตรวจเลือกฯ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ให้ผู้ขอสละสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการตรวจเลือก (ตามแบบคำร้องขอสละสิทธิ์) แล้วคณะกรรมการตรวจเลือกฯ จะพิจารณาว่าสมควรให้เข้ารับการตรวจเลือกฯ หรือไม่
     
๕๐ ถาม นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศโดยอยู่ในความปกครองดูแลของ ก.พ.จะขอผ่อนผันไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ ต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการขอผ่อนผันต่อกระทรวงมหาดไทย (ผู้ว่าราชการจังหวัด)
     
๕๑ ถาม นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย (ทุนส่วนตัว) จะขอผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกฯ อย่างไร
  ตอบ ให้นักเรียนผู้ประสงค์ขอผ่อนผัน หรือบิดา มารดาหรือผู้ปกครองขอผ่อนผันต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร
     
๕๒ ถาม การขอผ่อนผันศึกษาต่อต่างประเทศต้องนำหลักฐานอะไรไปแสดงบ้ าง
  ตอบ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้
ก. หลักสูตรการศึกษาของนักศึกษาและคำแปลเป็นภาษาไทย ลงชื่อ และตำแหน่งผู้แปล
ข. สำเนาใบสำคัญ (แบบ สด.๙) และสำเนาหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร(ถ้ามี)
ค. สำเนาทะเบียนบ้าน
ง. คำร้องข้อผ่อนผันไปศึกษาวิชาอะไร สำนักศึกษาประเภทใดและประสงค์และประสงค์ขอผ่อนผันการตรวจเ ลือกทหารกี่ปี
     
๕๓ ถาม หลีกเกณฑ์การขอผ่อนผันก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มีอะไรบ้าง
  ตอบ การยื่นขอผ่อนผันก่อนเดินทางไปต่างประเทศให้แจ้งด้วยว่าจะ เดินทางไปเมื่อใด โดยพาหนะอะไร และผู้ร้องต้องรับรองไว้ว่า เมื่อนักเรียนผู้นั้นเดินทางไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศแล้ว จะรีบส่งหนังสือรับรองของสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือผู้ดูแล นักเรียนไทยในประเทศนั้น ๆ ให้ภายใน ๓ เดือน นับแต่เดินทางออกจากประเทศไทย
     
๕๔ ถาม หลักฐานการขอผ่อนผัน ภายหลังเดินทางไปต่างประเทศแล้ว มีอะไรบ้าง
  ตอบ การยื่นขอผ่อนผันภายหลังเดินทางไปต่างประเทศแล้วต้องมีหนั งสือรับรองสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือผู้ดูแลนักเรียนไทยที่ ตั้งอยู่ ณ ประเทศที่ไปศึกษานั้นรับรองว่านักเรียน ผู้นั้นกำลังศึกษาวิชาอะไรอยู่ที่สำนักศึกษาใด เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
     
๕๕ ถาม เมื่อได้ขอผ่อนผันไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศถูกต้องแล้ว จะได้รับอะไรไว้เป็นหลักฐาน
  ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย) จะออกหนังสือผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๑) มอบให้ไว้เป็นหลักฐาน
     
๕๖ ถาม เมื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการแล้ว ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้หรือไม่อย่างไ ร
  ตอบ ถ้าเข้ากองประจำการแล้ว ก็ยังยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้โดยตรงทีเดียวไม่ต ้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
     
๕๗ ถาม ผู้ที่มาตรวจเลือกฯ เห็นว่าการวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องสามารถคัดค้านได้หรือไม่ อย่างไร
  ตอบ ถ้าผู้ที่มาตรวจเลือกเห็นว่า การวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องก็ให้คัดค้านได้ทันที เมื่อผ่านไปแล้วกรรมการอาจจะไม่พิจารณาให้
     
๕๘ ถาม การสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการจะได้สิทธิเลือกเป็นทหารบ ก ทหารเรือ หรือทหารอากาศได้หรือไม่
  ตอบ ผู้นั้นมีสิทธิเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการเป็นทหาร บก ทหารเรือ หรือทหารอากาศได้ตามที่มีการส่งคนเข้ากองประจำการแผนกนั้น ๆ
     
๕๙ ถาม ผู้ที่รับหมายเรียกฯ แล้วไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกเข้ากองประจำการตามกำหนดจ ะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร
  ตอบ ผู้ที่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกเข้ากอ งประจำการตามกำหนด มีความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี
     
๖๐ ถาม ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอแล้ว (ยังไม่เป็นทหารกองเกินจนกว่าจะถึง ๑ ม.ค.ถัดไป) หรือทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุนไปอยู่ต่างท้องที่ในอำเภอเดียวกันหรือต่าง อำเภอชั่วคราวเกิน ๓๐ วัน จะปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ต้องแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนไปอยู่ชั่วคราวนั้น (สัสดีอำเภอเป็นเจ้าหน้าที่) ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่ โดยนายอำเภอจะออกใบรับ (สด.๑๐) ไว้เป็นหลักฐาน
๖๑ ถาม ผู้ที่ประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร (ย้ายหลักฐานทางทหารไปอยู่แห่งใหม่ เนื่องจากไปทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นประจำหรือไปมีถิ่นที่อยู่เ ป็นหลักฐาน) ต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ห้แจ้งต่อนายอำเภอที่ตนเข้ามาอยู่ (แจ้งอำเภอท้องที่ใหม่เพียงแห่งเดียว) ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านนั้น
     
๖๒ ถาม กรณีผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้ว ต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ให้นำหลักฐานไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหา ร ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
     
๖๓ ถาม หากไม่แจ้งย้ายที่อยู่หรือไม่แจ้งเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุลภ ายในกำหนดจะมีความผิดหรือไม่
  ตอบ ผู้ที่เป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอแล้วแต่ยังไม่เป็ นทหารกองเกินมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     
๖๔ ถาม ถ้าทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนตายจะต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ห้ผู้ปกครองหรือญาติ นำหลักฐานการตายแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ โดยนำใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ส่งคืนด้วย
     
๖๕ ถาม คนหลีกเลี่ยงขัดขืนซึ่งต้องส่งเข้ากองประจำการ จะขอสิทธิลดวันรับราชการตามคุณวุฒิได้หรือไม่
  ตอบ ขอสิทธิลดวันรับราชการได้ตามคุณวุฒิ แต่จะใช้สิทธิร้องขอเข้ารับราชการไม่ได้
     
๖๖ ถาม บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารฯ ต้องพ้นจากฐานะยกเว้น ต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอรับหมายเรียกฯ ที่อำเภอท้องที่ที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ค. นั้น
     
๖๗ ถาม มีข้อสังเกตอย่างไรที่เรียกว่า "ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ ปลอม"
  ตอบ หากท่านไม่ได้รับใบรับรองผลฯ จากประธานกรรมการตรวจเลือกฯ ในวันตรวจเลือกฯ หรือได้รับจากบุคคลอื่นหรือวันอื่น หรือได้รับโดยมิได้เข้ารับการตรวจเลือกฯ แสดงว่า เป็น "ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ ปลอม"
     
๖๘ ถาม กรณีมีบุคคลอ้างว่าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือให ้พ้นจากการตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ได้นั้น ช่วยได้จริงหรือไม่
  ตอบ อย่าหลงเชื่อการแอบอ้าง หรือหลอกลวงของเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดที่อ้างว่าจะช่วยเหล ือให้ท่านพ้นจากการเกณฑ์ทหารได้ นอกจากท่านจะได้รับใบรับรองผลฯ ปลอมแล้ว ยังจะต้องถูกดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายอีกด้วย
     
๖๙ ถาม กรณีที่ทหารกองเกินมีโรคที่น่าจะขัดต่อการรับราชการทหารจะ ขอตรวจโรคก่อนเกณฑ์ได้หรือไม่อย่างไร
  ตอบ ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจโรคก่อนเกณฑ์คือ ทหารกองเกินผู้ที่รู้ว่าตนเองมีโรคที่น่าจะขัดต่อ การรับราชการทหาร สามารถไปเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก ๑๙ แห่ง ตามที่ได้ประกาศไว้ เช่น ส่วนกลางได้แก่ รพ.พระมงกุฎเกล้า
     
๗๐ ถาม โรคที่ควรเข้ารับการตรวจมีอะไรบ้าง
  ตอบ ได้แต่โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหารซึ่งไม่สามารถจะตรวจด้ วยตาเปล่า หรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำการตรวจ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางจิตเวช ฯลฯ
     
๗๑ ถาม เอกสารที่ต้องนำไปให้คณะกรรรมการแพทย์ตรวจโรคก่อนการตรวจเ ลือก มีอะไรบ้าง
  ตอบ เอกสารที่นำไป ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, ใบสำคัญ (แบบ สด.๙), และหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕) ฉบับจริงและสำเนาที่ลงนามรับรองแล้ว
     
๗๒ ถาม ถ้าผู้ที่เข้าตรวจเลือกฯ ถูกเข้ากองประจำการเห็นว่า คณะกรรมการตรวจเลือกตัดสินไม่ถูกหรือไม่ยุติธรรม จะยื่นคำร้องได้ที่ใด
  ตอบ ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง (ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก ๒ นาย) ได้ทันที แต่ถ้าถึงกำหนดที่จะต้องเป็นทหารกองประจำการก็ให้เข้าเป็น ทหารก่อน จนกว่าจะได้รับคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูง
     
๗๓ ถาม เมื่อเป็นทหารกองประจำการแล้ว ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้หรือไม่อย่างไ ร
  ตอบ ถ้าเข้ากองประจำการแล้ว ก็ยังยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้โดยตรงทีเดียวไม่ต ้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
     
๗๔ ถาม นักเรียนทหาร จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่อย่างไร
  ตอบ นักเรียนทหารเมื่อมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
     
๗๕ ถาม นักเรียนทหารเมื่อมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ต้องดำเนินการอย่างไร
  ตอบ นักเรียนทหารเมื่อมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ต้องไปขึ้นทะเบียนกองประจำการ
     
๗๖ ถาม บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่อย่างไร
  ตอบ คคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารกองเกินแต่ไม่เรียกมาตรวจเ ลือกเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ในยามปกติ
     
๗๗ ถาม การเกณฑ์ทหารใน เมษายน ๒๕๕๐ เกณฑ์คนอายุเท่าไร และเกิดปีใด
  ตอบ ผู้ที่อยู่ในกำหนดต้องเข้าตรวจเลือกฯ ในเดือนเมษายน ๒๕๕๐ คือ
๑. คนอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ.๒๕๒๙)
๒. คนอายุ ๒๒ ปี ถึง ๒๙ ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ.๒๕๒๘ ถึง ๒๕๒๑) ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกฯ และ/หรือผลการตรวจเลือกยังไม่เสร็จสิ้นไม่ว่ากรณีใดๆ
๓. นิสิต นักศึกษา นักเรียน ที่อยู่ในระหว่างจะได้รับการผ่อนผัน
     
๗๘ ถาม ถ้าผู้ทีกำลังศึกษาอยู่จะขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร (การเกณฑ์ทหาร) ได้หรือไม่
  ตอบ ได้โดยต้องยื่นคำร้องแจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันการตรวจเลือ กทหารต่อสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่
     
๗๙ ถาม คนพิการ หรือทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่ อย่างไร
  ตอบ คนพิการ หรือทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้จะต้องลงบัญชีทหารกองเกิน และจะต้องไปรับหมายเรียกด้วย แต่ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
     
๘๐ ถาม การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารมีกำหนดระยะเวลาการยื่นขอผ่อ นผันหรือไม่
  ตอบ มีกำหนดระยะเวลาคือ การขอผ่อนผันจะต้องส่งรายชื่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภูม ิลำเนาทหารภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะเข้าตรวจเลือกทห ารฯ
๘๑ ถาม ถ้าจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ ม.๖ ปวช. ฯลฯ จะต้องเป็นทหารกี่ปี
  ตอบ ร้องขอฯ เป็น ๑ ปี ถ้าไม่ร้องขอฯ เป็น ๒ ปี
     
๘๒ ถาม ถ้าจบการศึกษาระดับ ปวท., ปวส., อนุปริญญาฯ หรือปริญญาตรีขึ้นไป จะต้องเป็นทหารกี่ปี
  ตอบ ร้องขอฯ เป็น ๖ เดือน ถ้าไม่ร้องขอฯ เป็น ๑ ปี
     
๘๓ ถาม นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งได้แจ้งขอผ่อนผันการตรวจเลือกต่อสถาบันการศึกษาไว้แล้ วนั้น จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือไม่
  ตอบ ผู้ที่ขอผ่อนผันประเภทนี้ จะต้องไปรับหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕) และไปแสดงตนในวันตรวจเลือกด้วย หากปีใดมีคนส่งคนเข้าเป็นทหารพอก็จะได้รับสิทธิผ่อนผัน ไม่ต้องเป็นทหารเฉพาะปีนั้น สำหรับปีต่อๆ ไป ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
     
๘๔ ถาม จะขอผ่อนผันเลี้ยงบิดามารดา, เลี้ยงดูบุตร หรือเลี้ยงพี่น้องได้หรือไม่ อย่างไร
  ตอบ การผ่อนผันดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดา มารดาซึ่งทุพพลภาพหรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อ ื่นเลี้ยงดู หรือที่จำเป็นที่จะต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้คว ามสามารถหรือพิการทุพพลภาพ หรือที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาหรือร่ วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย
     
๘๕ ถาม การขอผ่อนผันดังกล่าวจะต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ก็ให้ไปชี้แจงต่อนายอำเภอเสียก่อนวันตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน กับให้ร้องต่อคณะกรรมการตรวจเลือกฯ ด้วย
     
๘๖ ถาม ก่อนจับสลาก หรือก่อนกำหนดให้เข้ากองประจำการ กรณีที่ไม่มีการจับสลาก ผู้ที่เห็นว่าตนควรได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผัน ต้องดำเนินการอย่างไร
  ตอบ องนำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือก ก่อนจับสลาก หรือก่อนกำหนดให้เข้ากองประจำการในกรณีที่ไม่มีการจับสลาก มิฉะนั้นให้ถือว่า หมดสิทธิที่จะได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผัน
     
๘๗ ถาม เมื่อพ้นจากฐานะผ่อนผัน (จบการศึกษา) ต้องทำอย่างไร
  ตอบ ให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่ หรือทำการประจำ ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่พ้นจากฐานะเช่นนั้น
     
๘๘ ถาม ทหารกองเกินที่ขาดไม่มาตามหมายนัดของนายอำเภอ และศาลได้พิพากษาว่ามีความผิด ฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน จะต้องดำเนินการอย่างไร
  ตอบ ต้องเข้ารับการตรวจเลือก ถ้าร่างกายไม่ขัดต่อการเป็นทหารกองประจำการก็ให้ส่งผู้นั้ นเข้ารับราชการทหารกองประจำการในปีนั้นหรือปีถัดไปโดยไม่ใ ห้จับสลาก
     
๘๙ ถาม ทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุนมีหน้าที่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลหร ือไม่อย่างไร
  ตอบ มีหน้าที่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมและในการระดมพล
     
๙๐ ถาม นักเรียนโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่อนผันให้กี่ปี
  ตอบ ผ่อนผันจนสำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ไม่เกินอายุ ๒๒ ปีบริบูรณ์
     
๙๑ ถาม นิสิตหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยผ่อนผันให้กี่ปี
  ตอบ ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาที่ไม่สูงกว่ าชั้นปริญญาโทและผ่อนผันให้จนถึงอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ เว้นแต่นักศึกษาแพทย์ศาสตร์ผ่อนผันให้ระหว่างที่ปฏิบัติงา นเพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตฯ อีก ๑ ปี
     
๙๒ ถาม สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๑ (จบ รด.ปี ๑) ต้องเป็ฯทหารกี่ปี
  ตอบ ให้รับราชการทหารกองประจำการ ๑ ปี ๖ เดือน (ไม่สมัครเป็นทหาร) แต่ถ้าเป็นผู้ที่ร้องขอฯ (สมัคร) ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง ๑ ปี
     
๙๓ ถาม ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๒ (จบ รด.ปี ๒) ต้องเป็ฯทหารกี่ปี
  ตอบ ให้รับราชการทหารกองประจำการ ๑ ปี (ไม่สมัครเป็นทหาร) แต่ถ้าเป็นผู้ที่ร้องขอฯ (สมัคร) ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง ๖ เดือน
     
๙๔ ถาม ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ (จบ รด.ปี ๓) ต้องเข้ารับการตรวจเลือกฯ หรือไม่
  ตอบ ไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกฯ ให้หน่วยนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหน ุนโดยมิต้องเข้ารับราชการกองประจำการ (ไม่ต้องไปเกณฑ์ทหาร)
     
๙๕ ถาม การนับอายุตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารมีกี่วิธี อะไรบ้าง
  ตอบ การนับอายุตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารมี ๔ วิธี คือ
๑. การนับอายุบริบูรณ์
๒. การนับอายุย่าง
๓. การนับอายุเป็นชั้นปี
๔. การนับอายุบุคคลไม่ปรากฏปีเกิด
     
๙๖ ถาม ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เ ข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล มีความผิดหรือไม่อย่างไร
  ตอบ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปี ถึง ๔ ปี
     
๙๗ ถาม ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (ใบ สด.๔๓) จะได้รับจากใคร
  ตอบ จากประธานกรรมการตรวจเลือกทหารฯ ในวันตรวจเลือกเท่านั้น ถ้ารับวันอื่น หรือจากบุคคลอื่นถือว่าเป็นใบปลอม
     
๙๘ ถาม ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เ ข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ มีความผิดหรือไม่อย่างไร
  ตอบ มีความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     
๙๙ ถาม นายอำเภอสามารถประกาศเรียกบุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไ ว้ที่อำเภอแล้วไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินใหม่ได้หรื อไม่อย่างไร
  ตอบ เมื่อจำเป็นนายอำเภอมีอำนาจประกาศเรียกบุคคลที่ได้ลงบัญชี ทหารกองเกินไว้ที่อำเภอแล้วไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเก ินใหม่ได้ ภายในกำหนด ๙๐ วันนับตั้งแต่วันประกาศ
     
๑๐๐ ถาม ใบรับรองผลการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๔๓) หรือที่เรียกว่าใบผ่านเกณฑ์ทหารมีความสำคัญอย่างไร
  ตอบ เป็นหลักฐานที่แสดงผ่านการเกณฑ์ทหาร ที่ท่านจะต้องใช้แสดงต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ และบริษัทห้างร้าน เพื่อประโยชน์ในการสมัครงาน หรือขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเดิม เมื่อหมดอายุ
     
ข่าวสาร

User not write anything about he.
Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above

ลองอ่านดูน่าสนใจ: