ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

บัตรคนจนและบัตรสวัสดิการที่ได้รับ

บัตรคนจนและบัตรสวัสดิการที่ได้รับ

โพสต์ใน: สังคม / - โดย - Apr 30, 2018

มาตรการช่วยเหลือคนจนเฟส 2 จากรัฐบาลแก่ผู้มีบัตรคนจน ได้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง และจะต้องทำยังไงถึงจะได้มา...

หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา เห็นชอบหลักการมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเฟส 2 แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน

 

 

✔️ ลงทะเบียนคนจน รอบ 2 จะได้สวัสดิการอะไรเพิ่มบ้าง ?

 

>>สรุป ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ความช่วยเหลือที่จะได้รับเพิ่มจากบัตรคนจนเฟส 2 ดังนี้

1. เงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 200 บาทต่อเดือน จาก 300 บาท/เดือน รวมเป็น 500 บาทต่อเดือน
(สำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี) แต่ต้องเข้าโปรแกรมพัฒนาพัฒนาคุณภาพชีวิต และอาชีพที่ภาครัฐจัดไว้ให้
2. เงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 100 บาทต่อเดือน จาก 200 บาท/เดือน รวมเป็น 300 บาทต่อเดือน
(สำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000-100,000 บาทต่อปี) แต่ต้องเข้าโปรแกรมพัฒนาพัฒนาคุณภาพชีวิต และอาชีพที่ภาครัฐจัดไว้ให้


3. สามารถนำบัตรคนจนที่มีเงินดังกล่าว ไปใช้รูดซื้อสินค้า จ่ายค่าโดยสารรถสาธารณะ ลดค่าครองชีพได้เหมือนที่ผ่านมา
4. เน้นช่วยเหลือให้พัฒนาตัวเอง มีงานทำ ฝึกอบรมความรู้และเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อพัฒนาคุณชีวิต และรายได้ในระยะยาว
5. มีโครงการสนับสนุนให้สามารถเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ให้ซื้อบ้าน
6. เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว และได้รับบัตรคนจนไปแล้ว โดยไม่มีการเปิดลงทะเบียนใหม่
7. จะมีเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบาย ติดตาม ให้ข้อมูล และดำเนินตามมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆ

 

✔️ ลงทะเบียนคนจนรอบ 2  ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ใครมีสิทธิ์บ้าง ?

>> ผู้ที่จะไป ลงทะเบียนคนจน รอบ 2 ต้องตรวจสอบว่าเรามีคุณสมบัติตามนี้หรือไม่

  1. มีสัญชาติไทย
  2. อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป 
  3. เป็นผู้ว่างงาน หรือมีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาท ในปี 2560
  4. ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝากธนาคาร, สลากออมสิน, สลาก ธ.ก.ส., พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ หรือถ้ามีทรัพย์สินทางการเงินดังกล่าว จะต้องมีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในปี 2560
  5. ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย หรือถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

    (5.1) ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
          กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว
          - บ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ต้องมีพื้นที่ ไม่เกิน 25 ตารางวา
          - ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร

          กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดิน
          - เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่
          - เพื่อการอื่นที่ไม่ใช่การเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
    (5.2) ที่ดิน
          กรณีใช้ประโยชน์จากที่ดิน
          - เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่
          - เพื่อการอื่นที่ไม่ใช่การเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่

*หมายเหตุ : รายได้ หมายถึงรายได้ของบุคคลที่ลงทะเบียนเท่านั้น ในกรณีประกอบอาชีพร่วมกันทั้งครัวเรือน (เช่น ทำการเกษตรร่วมกัน) และไม่สามารถแยกรายได้ออกมาเป็นรายบุคคลได้ ให้ถือว่า รายได้ของครัวเรือนเป็นรายได้ของหัวหน้าครอบครัวแต่เพียงค นเดียว

 


✔️ ลงทะเบียนคนจน รอบ 2 ได้ที่ไหน?

>> ผู้มา ลงทะเบียนคนจน รอบ 2 สามารถเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนและ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไปลงทะเบียนได้ที่ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมถึงตามสถานที่อื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งมีประกาศในชุมชน เช่น ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เป็นต้น

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงไทย
- สำนักงานคลังจังหวัด
- สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด (สังกัดกรมบัญชีกลาง)
- สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทุกเขต


โดยต้อง ลงทะเบียนคนจน รอบ 2 เพียงที่ใดที่หนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถ ลงทะเบียนคนจน ซ้ำได้หลายแห่ง


✔️ ลงทะเบียนคนจน รอบ 2 มีขั้นตอน เตรียมเอกสารยังไง?

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนคนจน รอบ 2  *ก่อนเปิดรับสมัคร ลงทะเบียน (เดือนกุมภาพันธ์ 2561)
          1. เตรียมบัตรประชาชนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรวดเร็วในการกรอกแบบฟอร์ม
          2. ขอรับแบบฟอร์มลงทะเบียนได้ที่หน่วยรับลงทะเบียนทุกแห่ง หรือดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงการคลัง (http://www.mof.go.th/home/eco/welfare_gov2560.pdf, ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ epayment.go.th


>> โดยแบบฟอร์มลงทะเบียนจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด 7 ส่วน สามารถอ่านรายละเอียดวิธีการกรอกข้อมูลในแต่ละส่วนได้ที่  http://epayment.go.th


*ส่วน ช่องทางการตรวจสอบรายชื่อ *หลังสมัคร ลงทะเบียนคนจน ไปแล้ว สามารถตรวจได้ 3 ช่องทาง คือ

  ◼️ ช่องทางที่ 1 : ตรวจสอบจากเว็บไซต์

http://www.epayment.go.th (เว็บไซต์ epayment)
http://www.mof.go.th  และ (เว็บไซต์กระทรวงการคลัง)
http://www.fpo.go.th  (เว็บไซต์สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)

*โดยพิมพ์เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ลงไปในช่องที่กำหนด ระบบก็จะแจ้งผลการตรวจสอบทันทีว่าเรานั้นผ่านคุณสมบัติหรื อไม่

 

◼️ ช่องทางที่ 2 : ตรวจสอบผ่านสายด่วนของ 6 หน่วยงาน ในเวลาราชการ ได้แก่

- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 1359
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02-555-0555
- ธนาคารออมสิน โทร. 1115
- ธนาคารกรุงไทย โทร. 02-111-1111
- กรมบัญชีกลาง โทร. 02-270-6400
- เบอร์โทรศัพท์ของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต

◼️ ช่องทางที่ 3 : ตรวจสอบโดยตรงด้วยตัวเอง ณ ที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร


✔️ ลงทะเบียนคนจน ปี 2560 ไปแล้ว จะต้องมาลงทะเบียนในปี 2561 อีกไหม ?

>> ผู้ลงทะเบียนในปี 2560 ที่ได้รับบัตรประจำตัวไปแล้ว ในปีนี้ไม่ต้องมาลงทะเบียนอีก เพียงแต่มาอัพเดทข้อมูลเท่านั้น ซึ่งบางคนอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจนไม่ถือว่าเป็นผู้มีรายไ ด้น้อยอีกก็ได้

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเ ติมได้ที่ Call Center ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 0-2109-2345 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 – 17.30 น. หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020

 

 

 

ข่าวสาร

User not write anything about he.
Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above

ลองอ่านดูน่าสนใจ: