ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

ทำความรู้จักกับ “วิศวกร” ซึ่งหลักๆ ก็คือ วิศวกรโยธา หรือ วิศวกรโครงสร้างนั่นเอง มีหน้าที่ออกแบบโครงสร้างด้านความแข็งแรงตามโจทย์ที่สถาปน ิคให้มา นั่นเอง แยกไปตามความเชี่ยวชาญในสาขาของตัวเอง
การว่าจ้างบริษัทสร้างบ้านเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีของผู้ที่คิดจะสร้างบ้าน เพราะบริษัทประเภทนี้จะมีทั้งวิศวกร และสถาปนิกอยู่ในบริษัทอยู่แล้วสามารถให้คำปรึกษา ออกแบบ ก่อสร้างครบวงจร นั่นเอง

 

ตามกฏหมาย การจะก่อสร้างอาคาร จำเป็นต้องยื่นขออนุญาติก่อสร้างจากหน่วยงานราชการก่อน ที่ สำนักงานเขตโดยจะต้องมีสถาปนิกและวิศวกรลงนามรับรองแบบ แต่ไม่ใช่ทุกอาคาร ถ้าเป็นอาคารที่พักอาศัยส่วนบุคคลพื้นที่รวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร หรืออาคารเพื่อการเกษตรพื้นที่ไม่เกิน 400 ตารางเมตร ก็ไม่ต้องยื่นขออนุญาติจากสำนักงานเขตก็ได้ ส่วนอาคารที่เข้าข่ายต้องมีวิศวกรผู้ออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้าง คือ

 

  1. เป็นอาคารสูงตั้งแต่ 3 ชั้น ขึ้นไป หรือโครงสร้างของอาคาร ชั้นใดชั้นหนึ่งสูงตั้งแต่ 4 เมตร หรือมีช่วงคานตั้งแต่ 5 เมตร ขึ้นไปเป็นอาคารสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป
  2. เป็นอาคารสาธารณะทุกชนิด
  3. โครงสร้างใต้ดินที่มีความลึกตั้งแต่ 1.5 เมตร

 

การว่าจ้างผู้รับเหมา โดยไม่จ้างวิศวกร และจะควบคุมงานก่อสร้างเองนั้นมีความเสี่ยงอยู่หลายอย่าง เช่น กรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือบ้านอาจจะไม่มีความแข็งแรงปลอดภัย หรือกรณีไม่ร้ายแรงแต่อาจจะเป็นปัญหาจุกจิกในระยะยาว เช่น น้ำรั่ว บ้านร้าว ผนังฉาบไม่ตรง และบ้านขาดรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมต่างๆ ซึ่งการจ้างวิศวกรก็พื่อความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยของตัวบ้าน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเราเอง

 

Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above