ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

โดย

ก่อนอื่นขอสรุป M.2 ก่อนผู้อ่านจะได้ไปซื้ออย่างมั่นใจ
โปรดดูคู่มือ Mainboard ของท่านรองรับแบบไหน (หากไม่แน่ใจให้เลือกอันขวาตามภาพ ขอให้มี M2 ก็เสียบใช้ได้หมด เพราะมีรอยบากทั้งซ้ายและขวา)

M.2 จะมีให้เลือก 2 แบบ ตอนหงายชิปขึ้นให้ดูตามร่องบาก

1. ร่องบากอยู่ขวามือคือ M.2 SSD มีความเร็วมากกว่า 500 Mbps ปกติจะอยู่ที่ 1,000 - 4,000 Mbps

2. ร่องบากอยู่ซ้ายมือคือ M.2 SSD แบบ SATA มีความเร็วน้อยกว่าหรือเท่ากับ 500 Mbps เท่านั้น

 

ศัพท์ที่ควรรู้เข้าใจง่าย:

1. SSD คือชิปความจำที่ฝังอยู่ในบอร์ด

2. M.2 คือช่องเสียบความเร็วสูงติดอยู่กับ Mainboard

3. SATA คือสายมีความเร็วน้อยกว่าหรือเท่ากับ 500 Mbps

4. PCIe ช่องเสียบเสริมเช่นการ์ดจอ Nvidia และอื่น ๆ

5. NVMe คือมาตรฐานจัดการ ส่ง/รับได้ 65,535 คำสั่ง (เดิม AHCI ส่ง/รับ = 1/35 คำสั่ง )

โดยสรุปดังนี้: M.2 SSD คือชิปความเร็วสูงที่ต้องเสียบกับช่องของ M.2 เท่านั้น

ที่มา: https://www.kingston.com/th/ssd/system-builder/m2_faq

 

ผู้อ่านกำลังมองหาการ์ดหน่วยความจำ เพื่อเพิ่มความเร็วในการบันทึก ก็อปไฟล์ขนาดใหญ่ในเวลาอันสั้น ในท้องตลาดที่วางขายมี 3 แบบ คือ M.2 PCIe, SSD, HDD

แตกต่างกันด้านความเร็วดังนี้

  1. HDD หรือ Harddisk Drive อ่าน/เขียนข้อมูลอยู่ประมาณ 100 MB/s
  2. SSD หรือ Solid State Drive อ่าน/เขียนข้อมูลอยู่ประมาณ 500 MB/s
  3. M.2 PCIe อ่าน/เขียนข้อมูลอยู่ประมาณ 2,000 MB/s

สรุป: จะเห็นได้ว่า M.2 PCIe ทำความเร็วมากสุด ยกตัวอย่างเช่นนำไปก็อปแผ่น DVD มีความจุ 4,700 MB ใช้เวลา 2 วินาที

สำคัญ: M.2 SATA จะมีความเร็วเท่า SSD จากข้อจำกัดของ Hardware  อยากได้เร็วสุด ราคาแพงสุดต้อง M.2 PCIe เท่านั้น

M.2 คืออะไร

M.2 พัฒนาขึ้นภายใต้มาตรฐาน PCI-SIG และ SATA-IO โดยจัดอยู่ในกลุ่ม PCI-SIG M.2 และ SATA Rev. 3.2 เดิมทีมาตรฐานดังกล่าวนี้เรียกเป็น Next Generation Form Factor (NGFF) จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น M.2 เมื่อปี 2013 หลายคนยังอ้างถึงมาตรฐาน M.2 เป็น NGFF อยู่ตามเดิม

ฟอร์มแฟคเตอร์ M.2 ที่มีขนาดเล็กถูกนำไปใช้กับการ์ดเสริมหลายประเภท เช่น Wi-Fi, Bluetooth, ระบบนำทางดาวเทียม, Near Field Communication (NFC), วิทยุดิจิตอล, Wireless Gigabit Alliance (WiGig), Wireless WAN (WWAN) และ Solid-State Drives (SSD) M.2 มีฟอร์มแฟคเตอร์ย่อยอีกบางส่วนที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะสำหรับ SSD

M.2 ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับอินเทอร์เฟซ SATA และ PCIe สำหรับ SSDM.2 SATA SSD

M.2 SSD และ mSATA SSD แตกต่างกันคือ M.2 SSD จะรองรองทั้ง SATA และ PCIe  (ซึ่่ง PCIe จะทำงานได้ดีกว่าเพาะ SATA 3.0 เร็วสูงสุด 600MB/s แต่ PCIe ทำความเร็วได้ถึง 1000MB/s – 2000MB/s แล้วแต่ Gen)  ในขณะที่ mSATA SSD รองรับแค่ SATA 

M.2 SSD และ mSATA SSD

ความยาวของ M.2 SSD มีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งยาวนั้นก็หมายถึงเรื่องของความจุ เพราะสามารถบรรจุชิปแฟลช NAND ได้มากขึ้น โดยทั่วไปขนาด 2230 และ 2242 จะรองรับรองรับชิปแฟลช NAND 1-3 ตัว ในขณะที่ 2280 และ 22110 รองรับชิปแฟลช NAND ได้ถึง 8 ตัว ทำให้สามารถมีความจุได้ถึง 1TB เลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่มักเลือก 2242 M.2 SSD ไว้ใช้สำหรับ Notebook เพราะมีข้อกำจัดเรื่องพื้นที่ (ตัวเลขสองตัวหน้าคือ ความกว้าง และ สองตัวหลัวคืิอความยาว ตัวเลขที่ลงท้าย 80, 110 จะยากกว่ารุ่นที่มีตัวเลขลงท้าย 30 หรือ 42)

จากแต่ก่อนคอมพิวเตอร์ใช้งานเป็น HDD หรือจานแม่เหล็กโดยทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้งานอยู่
ข้อดีของ HDD
นั้นคือถูกมีความจุสูง กู้ข้อมูลได้
ข้อเสียของ HDD 
ความเร็วต่ำ ขนาดใหญ่ ห้ามกระทบกระแทก
ข้อดีของ SSD
ความเร็วสูง กระแทกไม่เสีย เบา บาง ทนทาน
ข้อเสียของ SSD
กู้ข้อมูลยากถึงไม่ได้ ราคาแพงกว่า HDD
ข้อดีของ SSD m.2
เหมือนกับ SSD แต่มีความเร็วสูงกว่า + เล็กกระทัดรัด
ข้อเสียของ SSD m.2
ราคาแพงกว่า SSD กู้ข้อมูลยากถึงไม่ได้

nvme-ahci

โดยจุดเด่นหลักๆของตัว m.2 นั้นจะเป็นการเชื่อต่อที่ใช้เส้นทางหรือเลนส์ของตัว PCI-E จำนวน 4x นั้นเองครับ ทำให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลนั้นสูงกว่าแบบเชื่อมต่อ Sata เพราะที่เห็นทุกวันนี้ SSD นั้นได้วิ่งเต็มความเร็วของช่องเชื่อมต่อแล้ว ที่ 550 Mb/s โดยประมาณ แต่เจ้า m.2 นั้นสามารถรองรับความเร็วได้สูงกว่า 2,000 Mb/s เลยทีเดียวและครับ

 

ภาพตัวอย่าง Solid State Drive อ่าน/เขียนข้อมูลอยู่ประมาณ 500-700 MB/s

Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above