ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

อยู่ในน้ำนานสุด ต้องลดอัตราการเผาผลาญ

การที่คนเราจะกลั้นหายใจใต้น้ำได้เป็นเวลานานเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าสามารถทนทานภาวะที่ร่างกายมีออกซิเจนต่ำที่ สุดได้เท่าใด และทนรับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นได้มากที่สุดใน ระดับไหนด้วย

 

โอกาสอยู่รอดในภาวะออกซิเจนต่ำและคาร์บอนไดออกไซด์สูง ถูกกำหนดด้วยอัตราการเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงานให้ร่างกายเ ป็นสำคัญ นักดำน้ำที่ต้องแหวกว่ายออกแรงจะเกิดการเผาผลาญสูงจนใช้ออ กซิเจนหมดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าคนที่กลั้นหายใจอยู่ ใต้น้ำนิ่ง ๆ

 

เมื่อปี 1986 หนูน้อยมิเชลล์ ฟังก์ เด็กอเมริกันซึ่งยังอยู่ในวัยหัดเดินเตาะแตะ ตกลงไปในลำธารที่เย็นเยียบจนกลายเป็นน้ำแข็งไปส่วนใหญ่ แต่น่าอัศจรรย์ที่เธอรอดชีวิตมาได้แม้จะจมน้ำอยู่เป็นเวลานานถึง 66 นาที ซึ่งผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าเป็นเพราะอุณหภูมิที่ต่ำถึงข ีดสุดลดระดับการเผาผลาญในร่างกายของเธอจนเกือบเป็นศูนย์

 

นักดำน้ำหลายคนมีเคล็ดลับในการรักษาระดับออกซิเจนและลดอัต ราการเผาผลาญลง โดยพยายามทำใจให้สบายและผ่อนคลายขณะอยู่ใต้น้ำ เทคนิคนี้คล้ายกับการทำสมาธิ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงและนักดำน้ำสามารถสงบจิตใจจนไม่เกิ ดความคิดฟุ้งซ่านสับสนขณะทำกิจกรรมเสี่ยงอันตราย

นักดำน้ำแบบตัวเปล่าคนหนึ่งกำลังดำลงใต้น้ำโดยใช้ไม้ค้ำขน าดเล็กช่วยนำทาง

 

สรุป: เราต้องเคลื่อนที่ให้เป็นธรรมชาติ เพื่อใช้ออกซิเจนน้อยสุดจะอยู่ในน้ำได้นาน ยิ่งเราออกแรงมากร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเผาผลาญเป็นพลังงา น ออกซิเจนหมดเราจะอยู่ในน้ำได้น้อยลง

Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above