ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

โรคไข้เลือดออก ไวรัสอีโบลา

โพสต์ใน: สุขภาพ / ไวรัส / - โดย - Oct 30, 2016
ไวรัสอีโบลา เป็นไข้เลือดออกชนิดใหม่เกิดระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2519 ที่ประเทศซูดานและประเทศซาอีร์ เลยตั้งชื่อ "อีโบลา" จากชื่อแม่น้ำอยู่ตรงบริเวณที่พบโรคในตอนเริ่มแรกคือ ที่แถบลุ่มแม่น้ำอีโบลา ในประทศซาอีร์ แอฟริกา


การแพร่กระจายเชื่อไวรัสอีโบล่า
ไวรัสอีโบล่าสามารถแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คนได้ด้วยการสั มผัส น้ำมูก น้ำลาย หรือใช้เข็มร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ แต่ไม่แพร่เชื้อผ่านอากาศตามธรรมชาติ
โรคไข้เลือดออกมีหลายสายพันธ์
โรคไข้เลือดออกจากไวรัสอีโบลา ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงมาก อุบัติใหม่ในแอฟริกาเมื่อปี 2519 ขณะที่โรคไข้เลือดออกในเกาหลีเกิดจากไวรัสฮันตาน ส่วนโรคไข้เลือดออกในไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ปากีสถาน ฯลฯ เกิดจากไวรัสเด็งกี

อัตราการเสียชีวิตสูงร้อยละ 50-90% ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายของแต่ละคน
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าประเทศกินี มีผู้ป่วยจำนวน 328 ราย และเสียชีวิตแล้ว 208 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2557) พบได้ทุกกลุ่มอายุ เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา อยู่ในตระกูล Filoviridae

อาการของโรคอีโบลา (Ebola)
หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-21 วัน(ระยะฟักตัว) ระยะแรกจะมีอาการดังต่อไปนี้
• ไข้ หนาวสั่น
• ปวดศีรษะอย่างมาก
• ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ
• เจ็บคอ
• อ่อนเพลีย
• ท้องร่วง

อาการของโรคจะเป็นมากขึ้นเป็นลำดับ และมีอาการอีโบล่า
• คลื่นไส้ อาเจียน
• ท้องร่วงซึ่งอาจจะมีเลือดออกทางเดินอาหาร ถ่ายเป็นเลือด
• ตาแดง
• มีผื่นนูน
• ไอ เจ็บหน้าอก
• จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร
• น้ำหนักลด
• มีเลือดออกทางจมูก ปาก ทวาร หู ตา
• บวมอวัยวะเพศ

ข่าวดี 2 ตุลาคม 2557 รพ.ศิริราช ผลิตยาต้านอีโบลา
แอนติบอดีรักษาอีโบลาครั้งแรกของโลก เยี่ยมกว่าซีแมพพ์ ชี้ขนาดเล็กกว่า 5 เท่า เจาะเข้าเซลล์ที่ติดเชื้อได้ ยับยั้งเพิ่มจำนวนของไวรัส สกัดการแพร่ไปยังเซลล์อื่น มั่นใจ 100%รักษาได้ทั้ง 5 สายพันธุ์
วันนี้เราสามารถผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาได ้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและครั้งแรกของโลก และแอนติบอดีนี้ได้มีการพิสูจน์ว่ามีความแตกต่างจากแอนติบ อดีที่ใช้รักษาอีโบลาอยู่ในขณะนี้ โครงสร้างต่างกันเราผลิตได้มีขนาดเล็กกว่า 5 เท่า กลไกในการออกฤทธิ์ต่างกัน และประสิทธิภาพของเราสูงกว่า เป็นการคิดค้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ ถือเป็นแอนติบอดีต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในห้องปฏิบัติกา รวิจัยสามารถยับยั้งเชื้ออีโบลา แต่ยังต้องพัฒนาต่อ เรามีแผนจะทดลองในลิงและทดลองในคน" ศ.คลินิค นพ.อุดมระบุ
แพทย์

User not write anything about he.
Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above

ลองอ่านดูน่าสนใจ: